เมนู

อรรถกถานันทิขยสูตรที่ 1 - 2



ในสูตรที่ 1- 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คำว่า นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย, ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย เพราะ
ความเพลิดเพลินสิ้นไป ราคะก็สิ้นไป. เพราะราคะสิ้นไป ความเพลิดเพลิน
ก็สิ้นไปนี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อกระทำให้ต่างจากอรรถแห่งคำเหล่านี้ว่า
นนฺทิ หรือว่า ราโค. อนึ่ง บุคคลเมื่อเบื่อหน่ายด้วยนิพพิทานุปัสสนา
ชื่อว่า ย่อมละนันทิ ความเพลิดเพลิน เมื่อคลายความกำหนัดด้วย
วิราคานุปัสสนา ชื่อว่าย่อมละราคะ.
ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้วิปัสสนา
จบลงแล้ว ทรงแสดงมรรคจิตในที่นี้ว่า เพราะราคะสิ้นไป นันทิก็สิ้นไป
ดังนี้แล้วแสดงผลจิตว่า เพราะนันทิ-ราคะสิ้น จิตหลุดพ้นแล้วแล.
จบ อรรถกถานันทิขยสูตรที่ 1 2
จบ อัตตทีปวรรค
จบ อรรถกถามูลปัณณาสก์


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อัตตทีปสูตร 2. ปฏิปทาสูตร 3. อนิจจสูตรที่ 1 4. อนิจจ-
สูตรที่ 2 5. สมนุปัสสนาสูตร 6. ปัญจขันธสูตร 7. โสณสูตรที่ 1
8. โสณสูตรที่ 2 9. นันทิขยสูตรที่ 1 10. นันทิขยสูตรที่ 2.
จบ มูลปัณณาสก์

รวมวรรคที่มีในมูลปัณณาสก์นี้ คือ


1. นกุลปิตุวรรค 2. อนิจจวรรค 3. ภารวรรค 4. นตุมหากวรรค
5. อัตตทีปวรรค.

มัชฌิมปัณณาสก์



อุปายวรรคที่ 1



1. อุปายสูตร



ว่าด้วยสิ่งที่เป็นความหลุดพ้นและไม่หลุดพ้น



[105] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเข้าถึง ด้วยอำนาจ
ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นความไม่หลุดพ้น ความไม่เข้าถึง เป็น
ความหลุดพ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่
พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่
เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ฯลฯ วิญญาณที่มี
สังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ
พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ หรือความเจริญ
งอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดใน
รูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ
เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์
ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้ง
ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่